Archives พฤษภาคม 2023

ประชุมชี้แจงความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรอนุปริญญาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน รุ่นที่ 1

วิทยาลัยชุมชนสุโขทัยจัดประชุมชี้แจงความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรอนุปริญญาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชนรุ่นที่ 1 ในวันที่ 29 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2566 ณ โรงพยาบาลศรีสัชนาลัย ประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมการจัดการเรียนการสอนภาคการศึกษาที่ 1/2566 เพื่อกำหนดทิศทางแนวทางการจัดการเรียนการสอน การจัดทำรายละเอียดของรายวิชาให้กับอาจารย์ผู้สอนได้ปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีนายแพทย์พิเชฐ บัญญัติ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และประธานสภาวิทยาลัยชุมชนสุโขทัย เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีสัชนาลัย และด้วยคณะเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาล ดร.พิษณุ แก้วนัยจิตร ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนสุโขทัย นายอนุชา มูลมัย รักษาราชการแทนรองผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนสุโขทัย นายมนัส จันทร์พวง รักษาราชการแทนรองผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนสุโขทัย นางสาวชมภู ไชยวงษ์ ผู้ดูแลงานวิชาการ พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่ วิทยาลัยวิทยาลัยชุมชนสุโขทัย และอาจารย์พิเศษผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมการประชุม

รับรายงานตัวและชี้แจงนักศึกษาใหม่ หลักสูตรอนุปริญญาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน รุ่นที่ 1 / 66

วิทยาลัยชุมชนสุโขทัย จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรอนุปริญญา สาธารณสุขศาสตร์สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน วันที่ 20 พฤษภาคม 2566 ได้รับรายงานตัวนักศึกษา และจัดกิจกรรมชี้แจงหลักสูตรการเรียนการสอน รายละเอียดดังนี้ หลักหลักสูตรอนุปริญญา สาธารณสุขศาสตร์สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน ใช้ระยะเวลาการศึกษาจำนวน 2 ปีครึ่ง โดยมีปรัชญา คือ สร้างนักสาธารณสุขชุมชนปฏิบัติตามหลักวิชาชีพสาธารณสุขชุมชนและสามารถทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย หรือเป็นผู้นำในการพัฒนาสุขภาพของบุคคล ครอบครัว ชุมชนแบบองค์รวมตามวีถีชุมชน เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะของประชาชน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร คือ เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะ ดังนี้

  1. มีความเป็นพลเมืองดี มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณในวิชาชีพและเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน
  2. มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านการสาธารณสุขชุมชน รวมทั้งบูรณาการศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องมาใช้อย่างเหมาะสม
  3. สามารถคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์และแก้ปัญหาเบื้องต้นในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขของชุมชนอย่างสร้างสรรค์
  4. สามารถให้บริการ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว ชุมชน แบบองค์รวม ทั้งระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ
  5. มีภาวะความเป็นผู้นำทางด้านสาธารณสุขและบูรณาการการบริการปฐมภูมิในเครือข่ายสุขภาพชุมชน
  6. สามารถประยุกต์ใช้ทักษะการสื่อสารและเทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข